ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' นิ่ว ๑ '

    นิ่ว ๑  หมายถึง น. เกลือเคมีหรือสารเคมีอื่น เช่นคอเลสเทอรอลที่เกิดเป็นก้อนแข็งในไตกระเพาะปัสสาวะ ถุงนํ้าดี หรือท่อของต่อมบางชนิดในร่างกาย เช่นต่อมนํ้าลาย ตับอ่อน.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • นิ่ว ๒

    ก. ทําหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้าเช่นนั้น ในคําว่า หน้านิ่ว.

  • นิ้ว

    น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้นเรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต.นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.

  • นิวคลิอิก

    น. ชื่อกรดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีโมเลกุลใหญ่มากและมีโครงสร้างซับซ้อน มี๒ ชนิด คือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า DNA และกรดไรโบนิวคลิอิก (Ribonucleic acid) ซึ่งเรียกย่อว่า RNA มีปรากฏอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทําหน้าที่เก็บรวบรวมและถ่ายทอดพันธุกรรม. (อ. nucleic acid).

  • นิวเคลียร์

    ว. ที่ใช้พลังงานอะตอม, เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม. (อ. nuclear).

  • นิวเคลียส

    น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).

  • นิวตรอน

    น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิดยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐ x ๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).

  • นิวรณ์

    น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจรักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่านรําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒